คำชี้แจงของทีมวัคซีน ทันตแพทยสมาคม ฯ ต่อการเรียกร้องให้เปิดเผยรายชื่อผู้รับวัคซีน Pfizer
1. ที่มาของการชี้แจง
ตามที่คุณรวิเทียนธรรม คุณสัณห์ชัย และสมาชิกท่านอื่น ๆ ได้เรียกร้องให้ทันตแพทยสมาคม ฯ เปิดเผยรายชื่อที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนผ่านทันตแพทยสมาคม ฯ เพื่อฉีดที่โรงพยาบาลวิมุต และ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียนั้น ทันตแพทยสมาคม ฯ เข้าใจ และขอขอบคุณในความเป็นห่วงเรื่องความโปร่งใสในการจัดสรรวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องที่สมาคมให้ความสำคัญสูงสุด ดังมีคำอธิบายวิธีการรวบรวม และติดตามข้อมูลอย่างละเอียดอธิบายในลำดับถัดไป อย่างไรก็ตามทันตแพทยสมาคม ฯ จะสามารถเปิดเผยรายชื่อได้ต่อหน่วยงานรัฐและเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้รับวัคซีนตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2562 เท่านั้น เนื่องจากในเอกสารขอความยินยอม (consent form) ที่สมาคมได้ออกให้ผู้ลงทะเบียนรับวัคซีน ทันตบุคลากรผู้รับวัคซีน ได้ให้ความยินยอมที่จะเปิดเผยต่อหน่วยราชการเท่านั้น (เมื่อได้รับการร้องขอ) ตามเอกสารแนบหมายเลข 1
2. หลักการ และจุดยืนของทันตแพทยสมาคมทันตแพทยสมาคมฯ ยึดถือหลักการสำคัญ 3 ประการในการจัดสรรวัคซีน ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice)
ความโปร่งใส และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหลักการทั้ง 3 ประการสะท้อนอยู่ในการออกแบบระบบดังมีคำอธิบายต่อไปนี้
1.การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice) ในการจัดสรรวัคซีนทุกรอบ (ปัจจุบันเป็นรอบที่ 3) สมาคมจะประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ชัดเจน โดยอิงอยู่บนหลักการทางวิชาการที่ล้อมาจากหลักการ จัดสรรวัคซีนของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มทันตแพทย์ด่านหน้าเป็นกลุ่มแรกทันตแพทย์กลุ่มเสี่ยง 608 เป็นกลุ่มที่สอง ทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ในคลินิกทันตกรรมเป็นกลุ่มล่าสุด โดยมีการปรึกษากับทางโรงพยาบาลวิมุต และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาโดยตลอด
2. ความโปร่งใส (transparency) จากประสบการณ์การจัดสรรวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca มากกว่า 16,000 โดส ทำให้พบปัญหาการสวมสิทธิ์เมื่อใช้การลงทะเบียนด้วย google form ซึ่งทันตแพทยสมาคม ฯ ได้ทำการตรวจสอบจากฐานข้อมูลของทันตแพทยสภา และทำการโทรศัพท์สอบถามรายบุคคลหากข้อมูลไม่ตรงกับที่ลงทะเบียนไว้ ทั้งนี้ทางทันตแพทยสมาคมฯตระหนักถึงปัญหานี้และได้เปลี่ยน platform ในการรวบรวม ตรวจสอบข้อมูลมาเป็นเว็บไซต์ที่เขียนขึ้นสำหรับการนี้โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถทำdata validation พร้อมบังคับแนบหลักฐานต่าง ๆ( รวมไปถึงมีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจนดังอธิบายในข้อ 3 และชี้แจงในรูปประกอบที่ 1-3
3. ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) ข้อมูลที่ลงทะเบียนนั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ รวมไปถึงใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นความอันตรายต่อผู้ลงทะเบียนหรือเพื่อนร่วมวิชาชีพ [1,2] ซึ่งทางทันตแพทยสมาคมได้คำนึงถึง data privacy หรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล สิทธิของแต่ละบุคคลในการเป็นอิสระจากการบุกรุก และการสอดส่องโดยไม่ได้รับอ้างอิง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูล ส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ [3]
3. หลักการคัดกรองรายชื่อ
1. เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน
1. กรณีทันตแพทย์: ใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือเอกสารอื่นที่มีการระบุการเป็นทันตแพทย์ พร้อมเอกสารเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
2. กรณีผู้ช่วยทันตแพทย์กลุ่มเสี่ยง: เอกสารใบรับรองแพทย์หรือเอกสารทางการแพทย์อื่น ๆ และใบรับรองการเป็นบุคลากรในคสินิกที่มีชื่อทันตแพทย์และเลขใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมชื่อสถานประกอบการ เลขสถานประกอบการ โดยทันตแพทย์ที่มีรายชื่ออ้างอิงทำการเซ็นรับรอง
3. กรณีผู้ช่วยทันตแพทย์: ใบรับรองการเป็นบุคลากรในคลินิก ที่มีชื่อทันตแพทย์ และเลขใบประกอบโรคศิลป์ ซื่อสถานประกอบการ เลขสถานประกอบการ โดยทันตแพทย์ที่มีรายชื่ออ้างอิงทำการเซ็นรับรอง
4. บุคลากรทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น ต้องแนบเอกสาร vaccine certificate เพื่อการตรวจสอบประวัติการรับวัคซีนมาด้วย
2. เมื่อทำการลงทะเบียนในระบบแล้ว ทางทันตแพทยสมาคม ฯ จะทำการตรวจสอบรายชื่อและเอกสารผู้ลงทะเบียนทุกคน
1. กรณีเอกสารครบ และกรอกข้อมูลถูกต้อง เข้าเกณฑ์การรับวัคซีน จะทำการอนุมัติข้อมูลในระบบเพื่อส่งรายชื่อไปยังหน่วยฉีด
2. กรณีเอกสารไม่ครบ หรือมีข้อมูลผิดพลาด จะทำการโทรศัพท์ติดต่อผู้ลงทะเบียนรายบุคคล เพื่อให้ทำการส่งข้อมูลเพิ่มเติมผ่านช่องทาง Line OA "ทันตแพทยสมาคม" หรือ Email datcovteam@gmail.com
3. หากทำการตรวจสอบแล้วเป็นผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ที่ระบุไว้ จะทำการปฏิเสธการลงทะเบียน และยกเลิกคิวที่จองไว้ในระบบเพื่อให้ผู้ที่เข้าเกณฑ์ทำการลงทะเบียนเพิ่มเติมต่อไป
3. เมื่อทำการตรจสอบข้อมูลรายบุคคลเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำการรวมข้อมูลที่ถูกตรวจสอบทั้งหมดส่งไปยังหน่วยฉีดวัคซีนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. ทั้งนี้ทางทันตแพทยสมาคม ฯ จะเก็บรักษาข้อมูลของบุคลากรที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ทั้งในรูปแบบกระดาษและข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้ทำการร้องขอตามกฎหมายเท่านั้น
5. ทางทีมวัคซีนของทันตแพทยสมาคม ฯ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ขอให้หน่วยงานทันตแพทยสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถทำการตรวจสอบ และลงทะเบียนข้อมูลบุคลากรในคสินิกได้ เริ่มจัดทำรายชื่อบุคลากรในคลินิกเอกชน อันได้แก่ ทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ และบุคลากรอื่น เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในการจัดการข้อมูล และสามารถนำข้อมูลตังกล่าวไปใช้อ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต
1. เปิดเผยวิธีการคัดกรองข้อมูลบุคลากรก่อนจัดส่งรายชื่อให้หน่วยงานฉีดวัคซีนต่าง ๆ
2. ขอให้ทันตแพทย์ทุกท่านร่วมกันทำงานเพื่อผลประโยชน์สูงสุดและดำรงไว้ซึ่งเกียรติของวิชาชีพทั้งนี้ อ้างอิง พรบ.คุ้มครองข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2562 มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ใด้ รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเว้นแต่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมได้โดยได้รับยกเว้น ไม่ต้องขอความยินยอมตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26 นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดความรับผิดทางแพ่ง และทางอาญากำหนดไว้ตามมาตรา 77-81 ซึ่งผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถฟ้องร้องผู้เปิดเผยข้อมูลเมื่อไม่ได้รับความยินยอมและทำให้เกิดความเสียหาย หรือความเสื่อมเสียต่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูลได้
เอกสารอ้างอิง
[1] พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
(htto://www.ratchakitcha.soc.coth/DATA/PDE/2562/A/069T 0052.PDE
[2] Thailand Data Protection Guideline 1.0 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กันยายน 2561
[3] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560